DAIHONZAN NARITASAN

ทำความรู้จักวัดนาริตะซัน

  1. หน้าแรก
  2. ทำความรู้จักวัดนาริตะซัน

จุดกำเนิดของวัดนาริตะซัน

  1. 1

    สมเด็จพระสังฆราชคันโชไดโซโจ (Kancho Daisojo) ออกเดินทางไปยังคันโตพร้อมกับองค์ฟุโดเมียวโอ

    ในปี ค.ศ. 939 ผู้นำซามุไรแห่งคันโตนามว่า ไทระ โนะ มาซาคาโดะ (Taira no Masakado) อ้างตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ ทั้งยังตั้งตนเป็นปรปักษ์กับราชสำนักและก่อการปฏิวัติ ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในหลายแคว้นของแถบคันโตประชาชนใช้ชีวิตอยู่อย่างวิตกกังวลและสับสน ท่ามกลางสถานการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสังคมสมเด็จพระสังฆราชคันโจไดโซโจที่ได้รับการร้องขอจากพระจักรพรรดิสุซาคุซึ่งเป็นจักรพรรดิในขณะนั้น ให้ช่วยปราบปรามเหตุการณ์ความไม่สงบ ได้ออกเดินทางจากเกียวโตพร้อมกับรูปสลักของ "องค์ฟุโดเมียวโอ" ที่พระโคโบไดชิคูไค ปรมาจารย์สงฆ์ผู้ยิ่งใหญ่รูปหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นได้ลงมือแกะสลักด้วยตนเอง องค์พระสังฆราชล่องเรือมุ่งหน้าไปยังคันโตโดยขึ้นฝั่งที่โอดาเระกาฮามะบนแหลมโบโซ

    จุดกำเนิดของวัดนาริตะซัน (1)
    จุดกำเนิดของวัดนาริตะซัน (2)
  2. 2

    ความวุ่นวายสงบลง วัดนาริตะซันถูกก่อตั้งขึ้นมาในชื่อ "วัดชินโชจิ"

    หลังจากขึ้นฝั่งมาแล้วสมเด็จพระสังฆราชก็เสด็จพระดำเนินไปตามเส้นทาง ในท้ายที่สุดก็ได้ประดิษฐานองค์ฟุโดเมียวโอไว้ที่เมืองนาริตะ และเริ่มประกอบพิธีโกะมะคิโต เพื่ออธิษฐานขอให้ความสงบสุขกลับคืนมาสู่บ้านเมือง หลังจากประกอบพิธีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 21 วัน ในที่สุดเหตุการณ์ความไม่สงบในแถบคันโตก็คลี่คลาย บ้านเมืองกลับคืนสู่ความสันติสุขอีกครั้ง เมื่อสมเด็จพระสังฆราชคันโจไดโซโจจะเสด็จกลับเมืองเกียวโต รูปเคารพขององค์ฟุโดเมียวโอก็ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ ราวกับว่ารูปสลักนั้นได้กลายเป็นหินก้อนใหญ่ อีกทั้งยังมีนิมิตถึงพุทธวจนะว่า "อยู่ที่นี่เพื่อช่วยเหลือผู้คน" ชื่อวัด "ชินโชจิ" เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระจักรพรรดิ และที่ตั้งของวัดที่ถูกสร้างขึ้นที่เมืองนาริตะ วัดแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกว่า "วัดนาริตะซันชินโชจิ"

    ความวุ่นวายสงบลง วัดนาริตะซันถูกก่อตั้งขึ้นมาในชื่อ วัดชินโชจิ (1)
    ความวุ่นวายสงบลง วัดนาริตะซันถูกก่อตั้งขึ้นมาในชื่อ วัดชินโชจิ (2)
  3. 3

    ศูนย์รวมศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของประชาชน

    ตั้งแต่ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาก็มีบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงมากมายแวะเวียนมาสักการะองค์ฟุโดเมียวโอแห่งวัดนาริตะซัน อาทิ "มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ" ผู้ก่อตั้งรัฐบาลโชกุนคามากุระ "โทกุกาวะ มิตสึกุนิ" ไดเมียวในสมัยรัฐบาลเอโดะ "นิโนมิยะ ซนโตคุ" ปัญญาชนผู้พลิกฟื้นหมู่บ้านเกษตรกรรมกว่า 600 แห่งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ในช่วงต้นสมัยเอโดะเป็นช่วงที่ละครคาบูกิได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ประชาชน มีนักแสดงละครคาบูกิผู้หนึ่งที่มีความศรัทธาต่อองค์ฟุโดเมียวโอแห่งวัดนาริตะอย่างแรงกล้า นามว่า อิจิคาวะ ดันจูโร่ (รุ่นที่ 1) ดันจูโร่ซึ่งเป็นนักแสดงที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมมากที่สุดในบรรดาเหล่านักแสดงคาบูกิ ได้นำเอาเรื่องราวของฟุโดเมียวโอไปแสดงในละครคาบูกิของตนเอง โดยใช้ชื่อคณะว่า "นาริตะยะ" ทำให้แรงเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์ฟุโดเมียวโอแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ความศรัทธาของคณะนาริตะยะ ตระกูลที่มีชื่อเสียงด้านคาบูกิมีต่อองค์ฟุโดเมียวโอ ก็ยังสืบต่อมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน
    ในช่วงที่มีการรับช่วงต่อของวงศ์ตระกูลที่เป็นการเปลี่ยนรุ่นดันจูโร่จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง จะต้องมาสักการะองค์ฟุโดเมียวโอที่วัดนาริตะซันเสมอ สามารถสังเกตเห็นความเลื่อมใสศรัทธาอันลึกซึ้งได้จากเครื่องสักการะบูชาของดันจูโร่รุ่นก่อนๆ ซึ่งยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ภายในบริเวณวัด

สมเด็จพระสังฆราชคันโจไดโซโจ

สมเด็จพระสังฆราชคันโจไดโซโจ

สมเด็จพระสังฆราชคันโจไดโซโจ มีศักดิ์เป็นหลานของจักรพรรดิอุดะ ประสูติเมื่อปี ค.ศ. 916 เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 2 ของเจ้าชายอะซึมิ ชินโน ทรงออกผนวชเมื่อเจริญพระชนมายุ 11 พรรษา พระองค์ทรงได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญต่างๆ เรื่อยมา ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ของวัดนินนะจิ วัดโทไดจิ วัดไซจิ จากนั้นทรงเป็นเจ้าอาวาสของวัดโทจิ และในปี ค.ศ. 986 ทรงได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 3 ของญี่ปุ่น ต่อจากพระเกียวกิและพระเรียวเก็น ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของนิกายชินงอน ทรงเป็นพระสงฆ์องค์แรกที่ริเริ่มการสวด "โชเมียว" การสวดมนต์โดยใส่ดนตรีทำนองพื้นบ้านลงไปในบทสวด จนได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการฟื้นฟูบทสวดคำสอนลึกลับ

องค์ฟุโดเมียวโอ

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ฟุโดเมียวโอแห่งวัดนาริตะซัน

"รูปเคารพองค์ฟุโดเมียวโอที่ปรมาจารย์สงฆ์โคโบ ไดชิ คูไคทุ่มเทจิตวิญญาณในการลงมือสลักด้วยตนเอง"

รูปสลักองค์ฟุโดเมียวโอ ณ วัดนาริตะซันนั้นเป็นพระพุทธรูปที่ปรมาจารย์คูไคทุ่มเทจิตวิญญาณและแรงศรัทธาในการลงมือสลักขึ้นมา โดยทำการแกะสลักด้วยวิธีที่เรียกว่า "1 มีด 3 กราบ" คือทรงก้มกราบ 3 ครั้งทุกๆ การลงมีดสลัก 1 ครั้ง

วัดนาริตะซันได้รับการปกปักคุ้มครองด้วยปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระประธานฟุโดเมียวโอ นับเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่ไฟจากการประกอบพิธีโกะมะคิโตไม่เคยดับลง ด้วยความมุ่งมั่นของนักบวชที่ยังคงทำหน้าที่ขอพรให้คำอธิษฐานของผู้มาสักการะสัมฤทธิ์ผล

ในพิธีโกะมะคิโตนั้น บทสวดอธิษฐานของพระสงฆ์และบทสวดอธิษฐานของผู้สักการะจะคล้องกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งคำขอนั้นจะถูกส่งผ่านไปสู่องค์ฟุโดเมียวโอ เพื่อให้พระองค์บันดาลให้พรนั้นสำเร็จเป็นจริง

ในปัจจุบัน "องค์ฟุโดเมียวโอแห่งวัดนาริตะซัน" ก็ยังคงเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของผู้ที่เลื่อมใสจากทั่วประเทศญี่ปุ่น เมื่อมาเยือนที่วัดแห่งนี้ ผู้ที่เลื่อมใสสามารถเข้าไปสักการะองค์ฟุโดเมียวโอในอุโบสถหลัก (ไดฮนโด) ได้

งานประจำปี

มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
มกราคม เดือนแห่งการเริ่มต้นปีใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยความมีชีวิตชีวา
วันที่ 1 "พิธีโอโกะมะคุในวันขึ้นปีใหม่"
วันที่ 7 "นานะคุสะ โกะอินมง"

พิธีประทับตราสลักองค์ฟุโดเมียวโอลงบนหน้าผากที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน พิธีเก่าแก่ของวัดนาริตะซัน เพื่อขอพรให้มีผลการเรียนดี สอบผ่าน สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยการประทับตราศักดิ์สิทธิ์สีชาดที่สลักเป็นตัวอักษรสันสกฤตซึ่งหมายถึงองค์ฟุโดเมียวโอลงไปบนหน้าผาก

วันที่ 8 "ไดฮันเนีย-เอะ" พิธีขอพรให้การเพาะปลูกพืชผลมีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการสวดย่อบทสวด "ไดฮันเนียเคียว (ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร)"

เป็นพิธีสวดมนต์โดยการกล่าวเฉพาะส่วนต้นของบทสวด "ไดฮันเนียเคียว (ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร)" ทีละบทจนครบทั้ง 600 บท เชื่อกันว่าหากได้สัมผัสกับสายลมในพิธีสวดมนต์นี้จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

วันที่ 28 "เทศกาลฮัตสึฟุโด"
มกราคม
กุมภาพันธ์ เดือนที่ภายในบริเวณวัดอบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งการอธิษฐานขอให้สอบผ่านและขอให้พรบรรลุผล
วันที่ 3 "เซ็ตสึบุน-เอะ"

นักซูโม่มืออาชีพและดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงเดินทางมาร่วมโปรยถั่ว เหล่านักซูโม่มืออาชีพและนักแสดงละครไทกะ (ละครย้อนยุครายปี) ของช่อง NHK จะมาเข้าร่วมเทศกาลโปรยถั่วและขอพร เพื่อขอให้เกิดความสงบสุขในโลก ผู้คนร่ำรวยมั่งคั่ง พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ และโชคร้ายกลายเป็นดี

วันที่ 3 - 9 "โฮชิคุคิโต-เอะ"

เทศกาลบูชาดวงดาว 9 ดวงที่ควบคุมดวงชะตาของมนุษย์ พิธีกรรมซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาเพื่อขอพรให้มีความสุขตลอดทั้งปี ไม่มีภัยใดๆ มากล้ำกราย ในทุกปีจะทำการบูชาเป็นเวลา 1 สัปดาห์นับตั้งแต่วันเซ็ตสึบุน ที่อุโบสถโคเมียวโดจะมีการแจก "ป้ายเครื่องรางโฮชิคุ" ที่ผ่านการทำพิธีปัดเป่าภัยพิบัติเรียกโชคเสริมลาภแล้วให้กับผู้ที่มาเข้าร่วม

กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนมีนาคม "เทศกาลดอกบ๊วยนาริตะ"

ดอกบ๊วยแดงและดอกบ๊วยขาวจะเบ่งบานอวดสายตาผู้มาเยือน พิธีกรรมซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาเพื่อขอพรให้มีความสุขตลอดทั้งปี ไม่มีภัยใดๆ มากล้ำกราย ในทุกปีจะทำการบูชาเป็นเวลา 1 สัปดาห์นับตั้งแต่วันเซ็ตสึบุน ที่อุโบสถโคเมียวโดจะมีการแจก "ป้ายเครื่องรางโฮชิคุ" ที่ผ่านการทำพิธีปัดเป่าภัยพิบัติเรียกโชคเสริมลาภแล้วให้กับผู้ที่มาเข้าร่วม

กลางเดือนกุมภาพันธ์ "พิธีบวงสรวงโอะไทยะเทศกาลศาลเจ้าชุสเสะอินาริ" "เทศกาลศาลเจ้าชุสเสะอินาริ" ขอพรให้ช่วยปัดเป่าอัคคีภัย เรียกโชคลาภเสริมดวง กิจการค้าขายรุ่งเรือง

ในทุกปีจะมีการทำพิธีบวงสรวงใหญ่ใน "วันม้าที่ 2 (ตามการนับของศาลเจ้าอินาริ)" ของเดือนกุมภาพันธ์ โดยก่อนหน้านั้น 1 วันจะมีการระบำบวงสรวง "โอะไทยะโฮระคุ" เป็นการแสดงความนับถือต่อเทพเจ้าด้วยการร่ายรำตามจังหวะเสียงขับร้องและเครื่องดนตรีญี่ปุ่น รวมทั้งยังมีการเลี้ยงต้อนรับด้วยเหล้าหวาน

กุมภาพันธ์
มีนาคม เดือนแห่งการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิ อบอุ่นหัวใจด้วยกลิ่นหอมละมุนของดอกบ๊วย
กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนมีนาคม "เทศกาลดอกบ๊วยนาริตะ"
วันที่ 5 - 7 "การบำเพ็ญภาวนาจิคคะสะ จูมังเบ็ง"

สวดมนต์บูชาองค์ฟุโดเมียวโอ 1 แสนจบด้วยบทสวดขอพรโกะมะ 10 บท ในพิธีจะทำการประดิษฐานป้ายไม้ชิโด ซึ่งเป็นป้ายโกะมะแบบพิเศษจำนวนประมาณ 700 แท่งไว้ที่บริเวณด้านหน้าของแท่นโกะมะ พระสงฆ์จะเคาะเกราะไม้ใหญ่และนำสวดมนต์ โดยการสวดมนต์ภาวนาจะดำเนินไปพร้อมๆ กับการอธิษฐานขอความสงบสุขร่มเย็นบังเกิดกับผู้ศรัทธาทุกคน

วันชุนบุน "ฮิกัง-เอะ"
มีนาคม
เมษายน เดือนที่จะได้ยลโฉมดอกซากุระบานบานสะพรั่ง
วันที่ 1 - 8
พิธีสรงน้ำพระ
"ฮานามิโดคังบุสึ"

เฉลิมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันประสูตรขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ให้กำเนิดศาสนาพุทธ ทำการสรงน้ำโดยตักน้ำชาหวานประพรมลงไปที่รูปสลักอันมีลักษณะวัยเยาว์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมกับกล่าวคำอวยพรเนื่องในวันคล้ายวันประสูตรของพระองค์ แสดงออกถึงความซาบซึ้งในความเมตตากรุณาที่ทรงเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาแก่สัตว์โลก

ต้นเดือนเมษายน "พาเหรดเทศกาลดอกไม้"
วันที่ 8
เทศกาลดอกไม้
"ชะคุซง โกดัง-เอะ"
กลางเดือน "เทศกาลกลองไทโกะของเมืองนาริตะ"

การแสดงตีกลองไทโกะที่มีทีมนักตีกลองจากทั่วประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาเข้าร่วม โชว์ตีกลอง "เซ็งกังฮานะไดโกะ" นักแสดงจะตีกลองไปพร้อมๆ กับอธิษฐานให้เกิดความสงบสุข โดยมีนักตีกลองกว่า 800 คนที่เข้าร่วมการแสดงนี้ ไฮไลท์อยู่ที่เวที "นาริตะซันเซ็นเน็นโยะบุไต" ในบรรยากาศย่ำค่ำ นักแสดงจะร่ายรำเพลงกลองไปบนเวทีที่มีเงาของเปลวไฟที่ลุกโชติช่วงมากระทบนอกจากนี้ยังมีขบวนพาเหรดกลองไทโกะ ที่นักแสดงจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางของวัดพร้อมๆ กับโชว์ท่วงท่าในการบรรเลงกลอง

วันที่ 28 "ฉะเซ็นคุโย-เอะ"

พิธีบวงสรวงไม้แปรงชงชา การบวงสรวงด้วยฉะเซ็นหรือไม้แปรงที่ใช้ในการชงชาทำการบวงสรวงโดยการเผาแปรงชงชาที่อนุสาวรีย์แปรงชงชา ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าหอศิลป์การเขียนตัวหนังสือพู่กันในบริเวณสวนสาธารณะนาริตะซัน เพื่อเป็นการแสดงความรู้สึกขอบคุณและอธิษฐานขอให้วัฒนธรรมการชงชาเจริญสืบไป

ปลายเดือน "พิธีทำบุญใหญ่เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของเจ้าชายโชโตะกุ"
เมษายน
พฤษภาคม เดือนที่ธงปลาคาร์ฟปลิวไสวอยู่กลางท้องฟ้าและอากาศแจ่มใส
วันที่ 8 "ไดฮันเนีย-เอะ"

กลางเดือน "เทศกาลเจดีย์ใหญ่สันติภาพ (เฮวะไดโต)" "รำบวงสรวง" อธิษฐานขอให้ความสงบสุขจงอยู่กับโลกนี้ตลอดไป ศาสนิกชนเดินขบวนร่ายรำถวายแด่รูปเคารพองค์ฟุโดเมียวโอและพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์ใหญ่สันติภาพเพื่อขอพรให้โลกนี้มีสันติสุขไปชั่วนิรันดร์และขอให้ครอบครัวมีความสุข

กลางเดือน "โลโซะคุ โน"

การแสดงบนเวทีอันอ่อนช้อยโดยตระกูลอุเมะวากะ การแสดงละครโนบวงสรวง ที่เรียกว่า "โลโซะคุ โน" โดยอาจารย์อุเมะวากะ มิโนรุและตระกูลอุเมะวากะ จะถูกจัดขึ้นที่เวทีการแสดงพิเศษบริเวณชั้น 4 ของอาคารโคริงคาคุ

วันที่ 27 "พิธีทำบุญใหญ่เพื่อน้อมรำลึกถึงการมาขององค์พระประธาน"

พิธีทำบุญจัด ณ บริเวณที่รูปเคารพขององค์ฟุโดเมียวโอทรงขึ้นฝั่งมาเพื่อแสดงถึงความเคารพนับถือ

สมเด็จพระสังฆราชคันโช ไดโซโจขึ้นเรือที่ท่าเรือในนัมบะ เพื่อพระราชดำเนินทางทะเลลงมายังคันโตพร้อมกับรูปสลักองค์ฟุโดเมียวโอ โดยสถานที่ที่พระองค์ทรงขึ้นฝั่งคือหาดโอดาเระกาฮามะบนชายฝั่งคุจูคุริ

ตั้งแต่วัดแห่งนี้ถูกก่อตั้งขึ้นมาก็ได้มีการจัดพิธีทำบุญบูชา ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่องค์พระประธานทรงขึ้นฝั่งมาอย่างต่อเนื่องไม่เคยขาด เพื่อแสดงความขอบคุณต่อความกรุณาขององค์ฟุโดเมียวโอที่ทรงปกปักคุ้มครองประชาชนและบ้านเมือง

ปลายเดือน "พิธีไคอุน ยาคุโยเคะ ไซโต โอโกะมะคุ - โกะมะงิไคกัง - เดินลุยไฟ"

ทำพิธีโกะมะภายนอกอาคารและบำเพ็ญเพียรด้วยการเดินลุยไฟ พิธีโกะมะคิโตจะจัดขึ้นบริเวณด้านนอกของอุโบสถตามธรรมเนียมของพระผู้ปฏิบัติธรรมในป่า เพื่ออธิษฐานขอให้คำขอของผู้มานมัสการบรรลุตามที่หวัง หลังจากที่ไฟสงบลงแล้วจะมีการประกอบพิธีเดินลุยไฟเพื่อเสริมโชคลาภและเรียกความสุขด้วย

พฤษภาคม
มิถุนายน เดือนที่จะได้เห็นภาพของดอกอาจิไซ (ไฮเดรนเยีย) ชูช่อรับฝนที่ตกลงมาโปรยปราย
ต้นเดือน "งานคัดลอกบทสวดมนต์"

เฉลิมฉลองวันคล้ายวันสมภพของปรมาจารย์โคเงียวไดชิและปรมาจารย์โคโบไดชิ จะมีการจัดงานร่วมชุมนุมกันเพื่อคัดลอก "ฮันเนียชินเงียว (ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร)" และกล่าวคำอวยพรเนื่องในวันคล้ายวันสมภพของปรมาจารย์โคเงียวไดชิและปรมาจารย์โคโบไดชิ

ต้นเดือน "งานเทศกาลเบ็นไซเต็ง"

สักการะรูปเคารพองค์เทพเจ้าที่เปิดให้นมัสการได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ใน 1 ปีจะเปิดให้เข้าไปสักการะรูปเคารพของเทพเจ้าเบ็นไซเต็ง เทพเจ้าแห่งดนตรี คำพูด โชคลาภและอื่นๆ ได้เป็นระยะเวลา 2 วัน โดยจะมีการแจกป้ายพิเศษสำหรับงานเทศกาลเบ็นไซเต็ง

วันที่ 15 "งานทำบุญเฉลิมฉลองวันคล้ายวันสมภพของปรมาจารย์โคเงียวไดชิและปรมาจารย์โคโบไดชิ"

เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาต่อพระครูที่ทรงก่อตั้งนิกายชินงอนและพระครูผู้ฟื้นฟูคำสอนศาสนา

เดือนมิถุนายนนี้เป็นเดือนเกิดของพระปรมาจารย์โคโบ ไดชิ คูไค ผู้ทรงริเริ่มพระพุทธศาสนานิกายชินงอน และปรมาจารย์โคเงียวไดชิ คาคุบัง ผู้ที่ได้ฟื้นฟูหลักธรรมคำสอนขึ้นมาอีกครั้งจะมีการทำบุญครบรอบให้กับพระครูซึ่งเป็นพระปรมาจารย์ทั้งสององค์ เพื่อแสดงถึงความนับถือและขอบคุณ

มิถุนายน
กรกฎาคม เดือนที่แสงอาทิตย์สาดส่อง บอกให้รู้ถึงฤดูร้อนที่มาเยือนอีกครั้ง
ต้นเดือน "นาริตะซัน กิออน-เอะ"

เทศกาลที่จัดเป็นประจำเมื่อถึงช่วงเริ่มต้นฤดูร้อน กับประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 300 ปี ในช่วงระยะเวลาที่มีการจัดงานนาริตะซัน กิออน-เอะ จะมีการเปิดประดูสู่ส่วนลึกภายในวัดที่เรียกว่า "โอคุโนะอิน" ซึ่งมีพระไวโรจนพุทธะประดิษฐานอยู่ ให้ผู้มาสักการะได้ข้อพรให้มีโชคมีลาภกันทุกคน พืชผลเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ รถลากมิโคชิที่ประดิษฐานพระไวโรจนพุทธะเป็นองค์พระประธานจะถูกแห่นำหน้าขบวนไปรอบเมืองในอุโบสถโคเมียวโดจะมีพิธีปลุกเสกด้วยดาบสวรรค์ "อามะคุนิโฮเคน" ที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษ

วันที่ 12 "พิธีทำบุญใหญ่เนื่องในโอกาสครบรอบการก่อตั้งวัด"

กลางเดือน "ปาฐกถาเช้า" การปาฐกถาต่อจากพิธีโกะมะเช้าที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด พิธีการกล่าวปาฐกถาในช่วงเช้าตรู่ของวัน โดยวิทยากรจากแวดวงต่างๆ ที่ได้รับการเชิญชวนมาเข้าร่วม

กรกฎาคม
สิงหาคม เดือนที่เสียงจิ้งหรีดส่งเสียงร้องเรไรชวนให้นึกถึงความหลัง
วันที่ 13-15 "อุระบง-เอะ"
วันที่ 16 "พิธีทำบุญใหญ่เซงะคิ"
วันที่ 23 และ 24 "งานแสดงรำบงโอโดริ เทศกาลมิทามะ"
สิงหาคม
กันยายน เดือนที่รวงข้าวออกผลเป็นเม็ดข้าวสีทองส่องประกายระยิบระยับ
วันที่ 8 "ไดฮันเนีย-เอะ"
วันที่ 23 "ฮิกัง-เอะ"
ปลายเดือน "พิธีไคอุน ยาคุโยเคะ ไซโต โอโกะมะคุ - โกะมะงิไคกัง - เดินลุยไฟ"
วันที่ 27 "พิธีทำบุญใหญ่เพื่อน้อมรำลึกถึงการมาขององค์พระประธาน"
กันยายน
ตุลาคม เดือนที่ลมเอื่อยๆ ของฤดูใบไม้ร่วงพัดมาให้จิตใจเย็นสบาย
วันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน "พิธีเฉลิมฉลองชิจิโกะซัง"

พิธีตามขนบธรรมเนียมของญี่ปุ่นที่จะอวยพรให้เด็กๆ เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข

อวยพรให้เด็กที่มีอายุครบ 3 ปี 5 ปีและ 7 ปี เจริญเติบโตอย่างมีความสุข และอธิษฐานขอพรให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เรียนเก่งมีผลการเรียนที่ดี

กลางเดือน "งานคัดลอกบทสวดมนต์"
ปลายเดือน "การแสดงดนตรีงากาคุ (ดนตรีในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยโบราณ)"
วันที่ 20 และ 21 "เทศกาลเก็น เมืองนาริตะ (ดนตรีบรรเลงเครื่องสาย)"
วันที่ 20 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน "งานจัดประชันดอกเบญจมาศ"

มวลดอกเบญจมาศที่ถูกนำมาประดับแต่งแต้มสีสันในบริเวณวัด ช่วงเวลาในการชมดอกเบญจมาศคือช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน โดยเฉพาะดอกเบญจมาศที่ถูกจัดเป็นพุ่มโตย้อยลงมาซึ่งจัดแสดงไว้หน้าไดฮนโดเป็นจุดที่ไม่ควรพลาด

ตุลาคม
พฤศจิกายน เดือนแห่งความงามของใบไม้ที่ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นสีสันที่สดใส
วันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน "พิธีเฉลิมฉลองชิจิโกะซัง"
วันที่ 20 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน "งานเทศกาลดอกเบญจมาศ"
กลางเดือน "เทศกาลใบไม้เปลี่ยนสี"
พฤศจิกายน
ธันวาคม เดือนแห่งการขอบคุณช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
วันที่ 8 "ฉะคุซน โจโด-เอะ" (หลังจากทำบุญครบรอบแล้วจะมีการเลี้ยงข้าวต้มที่เชื่อกันว่าทำให้สุขภาพแข็งแรงและอายุยืน)
วันที่ 27 "พิธีทำบุญใหญ่เพื่อน้อมรำลึกถึงการมาขององค์พระประธาน"
วันที่ 28 "พิธีเผาบัตรผู้แสวงบุญ - พิธีไซโต โอโกะมะคุ"

เผาป้ายโกะมะที่ใช้ในการขอรับการปกปักคุ้มครองจากเทพเจ้ามาตลอด 1 ปี พิธีโกะมะคิโตกระทำด้านนอกอุโบสถโดยการเผาป้ายโกะมะหรือเครื่องรางที่ได้รับมาพร้อมกับอธิษฐานแสดงความขอบคุณคืนป้ายและเครื่องรางให้กับเปลวไฟซึ่งหมายถึงองค์ฟุโดเมียวโอ เพื่อแสดงถึงความเคารพบูชาและแสดงความขอบคุณที่ทรงเมตตาปกปักคุ้มครองมาตลอดเวลา 1 ปี

ธันวาคม